โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าใจกันว่า การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน
ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความ
สนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยง
ไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และ
ใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
อีกทั้งต้องคงสภาพ
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้เพื่อช่วยให้การสอนในชั้นเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
แก่ผู้เรียนอย่างยั่งยืน
การจัดการชั้นเรียนจึงมีความหมายกว้าง นับตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพใน
ห้องเรียน การจัดกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน
การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้ง
สร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แล้วยังมีนักการศึกษาหลายท่านได้กำหนดความหมายของการจัดการชั้นเรียนไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
โบรฟี กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า หมายถึง การที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบการผลสำเร็จทั้งในด้าน
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้
บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
เบอร์เดน ให้คำจำกัดความของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า เป็นยุทธศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สุรางค์ โค้วตระกูล
ได้อธิบายความหมายของการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ซูซาน ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า
เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน ความพยายามของครูที่มีประสิทธิภาพนั้นหมายรวมถึง
การที่ครูเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ(responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive) Kauchak และ Eggen
ให้คำจำกัดความว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วยความคิด การวางแผนและการปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงของครูที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมอย่างเป็นระบบระเบียบและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการจัดการบริหาร (Management Goals) มี 2
ประการสำคัญ คือ
1. รังสรรค์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความเป็นไปได้มากที่สุดและครูจะสามารถสะท้อนการปฏิบัติงานของตนเองด้วยการถามตนเองสม่ำเสมอว่าระบบการบริหารขัดการเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร
เพียงใด
2. พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพในการจัดการและนำตนเองให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ดังนั้น การบริหารจัดการชั้นเรียนจึงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจด้วยตนเอง
ประเมินตนเองและควบคุมดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัยMoore ให้คำจำกัดความว่า
การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็น
กระบวนการของการจัดระบบระเบียบและนำกิจการของห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียนมักจะถูกรับรู้ว่าเกี่ยวข้องกับการรักษาระเบียบวินัยและควบคุมชั้น อย่างไรก็ตามการเข้าใจเช่นนี้ เป็นเรื่องง่ายเกินไป ทั้งนี้เพราะ การบริหารจัดการชั้นเรียนมีหลายสิ่งมาไปกว่านี้นั่นคือ การสร้างและดูเอาใจใส่บรรยากาศสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมายทางการศึกษา
วีณา นนทพันธาวาทย์ ได้อธิบายว่า
การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผนการปฏิบัติงานของครูในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่า
การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ
ประกอบด้วย การสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ Synergistic คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียนจะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น